อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

6

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b5-%e0%b8%9b

cdrm-39

ที่ตั้งและแผนที่

ที่ตั้ง หมู่ที่ 9 บ้านย่านซื่อ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่อยู่ ตู้ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150

เบอร์โทรศัพท์ 032-646292 แฟกซ์ 032-646292 เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ 081-776-2410

อีเมล์ kuiburi_np@hotmail.co.th,kuiburi_np@hotmail.com

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายกาญจนพันธ์ คำแหง

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ

ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท

ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

101981541อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอปราณบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีคุณค่า เช่น พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน มีเนื้อที่ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

nn22ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536

nn22กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศไทย

ขนาดพื้นที่

605625.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่

หน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ กร.1 ป่ายาง

หน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ กร.2 สำโหรง

หน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ กร.3 ด่านสิงขร

หน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ กร.4 หุบมะซาง

หน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ กร.5 เข็ดกา (ชั่วคราว)

จุดตรวจห้วยลึก

ด่านตรวจอ่างหิน

ด่านตรวจหุบตะเคียน

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ภาพแผนที่

1090map170109_82602

ลักษณะภูมิประเทศ

nn22พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความลาดชันของพื้นที่จากด้านทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และมีแนวเขาขวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อันเป็นเทือกเขาซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและเมียนม่าร์ ซึ่งมีสภาพพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1)  แบบลูกคลื่นลอนชั้นถึงเนินเขา มีความลาดชันประมาณ 80 – 100 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกบุกรุก แผ้วถางทำไร่สับปะรด อ้อย ผักต่างๆ

2) พื้นที่แบบภูเขา ประกอบด้วยภูเขาแบบสูงชั้น และยังคงมีสภาพป่าธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้นป่าน้ำลำธาร ความลาดชันมากกว่า 35 เมตร และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 750 เมตร ขึ้นไป

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศ

nn22อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีภูมิอากาศจัดอยู่ในประเทศฝนเมืองร้อน เฉพาะฤดู (Tropical Savannah Climate) กล่าวคือ อุณหภูมิจะสูงตลอดทั้งปี และมีช่วงแล้งที่เห็นได้ชัดในรอบปี ทั้งนี้ตามระบบการจำแนกทางภูมิศาสตร์ ลักษณะข้างต้นเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งชื้นแล้ง โดยมีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อน และกลางวันสั้นในฤดูหนาว จะมีช่วงที่มีน้ำมากเกินเพียงพอเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่มีเลย มีฤดูใหญ่อยู่ 3 ฤดู คือ

ฤดูฝน

nn22จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมนี้พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย โดยฝนจะหนักในเดือนพฤษภาคม แล้วฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นฝนจะตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

ฤดูหนาว

nn22เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้จะเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งลมนี้จะพัดมาจากบริเวณความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้ซึ่งจะพัดเอาความร้อนชื้นมา

ฤดูร้อน

nn22เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยระยะนี้เป็น ช่วงรอยต่อของฤดูลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อน และมีอากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายร้อนลงไปมาก

พืชพรรณและสัตว์ป่า

ทรัพยากรป่าไม้

สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี แบ่งสภาพป่าออกเป็น 3 ประเภท

  1. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) ส่วนใหญ่มีการกระจายบริเวณทางทิศตะวันตกของพื้นที่ โดยเฉพาะในส่วนที่ติดกับประเทศเมียนมาร์ จำแนกได้ดังนี้

1.1) ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest)

พบบนยอดเขาทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล

nn22ปานกลาง ตั้งแต่ 960 เมตรขึ้นไป (ร้อยละ 0.004 ของพื้นที่) สังคมพืชที่พบมีอาณาบริเวณค่อนข้างแคบมีสภาพป่าต้นไม้แคระแกร็น เนื่องจากอิทธิพลของลมและสันเขาที่มีระดับดินตื้น พืชพรรณที่สำรวจพบ ได้แก่ ทะโล้ หว้าเขา ก่อ ประดับหิน ปุดเขย่ง นมสวรรค์ ในขณะที่ตามลำต้นของไม้ยืนต้น มี มอสและเฟิร์น เกาะอยู่อย่างหนาแน่น

1.2) ป่าดงดิบชื้น (Tropical moist evergreen forest)

nn22พบตามพื้นที่บนภูเขาสูงทางทิศตะวันตก โดยส่วนใหญ่พบในระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 500-990 เมตร (ร้อยละ 14.10 ของพื้นที่) นอกจากนั้น ยังพบตามบริเวณที่มีความชื้นในดินสูง หรือตามลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปีที่เรียกว่า ป่าริมห้วย สังคมพืชที่พบ มีโครงสร้างสังคมพืชที่แน่นทึบหลายชั้นเรือนยอดและหลายขนาดขึ้นรวมกัน เช่น ไข่เขียว ยางกล่อง สะเดาช้าง ปออีเก้ง ยางโอน ไม้ในระดับรองลงมา เช่น ตาเสือ ยมหอม เลือดควาย เงาะป่า สาย ตองผ้า กระดูกไก่ เนียง กระท้อนป่า น่องขาว ยางน่อง ไม้พื้นล่างที่พบ เช่น ไม้ในวงศ์ปาล์ม จำพวกหวาย เฟิร์น พืชในวงศ์ขิงข่า

1.3) ป่าดงดิบชื้นกึ่งดิบแล้งหรือป่าดงดิบแล้งระดับสูง (Semi-evergreen forest) ส่วนใหญ่จะพบที่ระดับความสูงประมาณ 400-900 เมตร (ร้อยละ 22.12 ของพื้นที่)

nn22บริเวณแนวสันเขาที่เป็นเขตชายแดนระหว่าง ประเทศไทยและเมียนมาร์ขึ้นมา และเมื่อสูงขึ้นมาทางตอนกลางและตอนเหนือของพื้นที่จะพบเป็นบริเวณที่กว้างขึ้นสังคมพืชที่พบจำแนกได้ 3-4 ชั้นเรือนยอด ชั้นความสูงประมาณ 30-35 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น สะตอป่า เม่าเหล็ก ยางปาย ยางกล่อง เหรียง หัวกา ค้อ ชั้นเรือนยอดรองลงมา เช่น จำปีป่า ตาเสือ หว้า เลือดม้า มะม่วงป่า เปล้าน้อย มะปริง ลิ้นจี่ป่า มะไฟป่า เงาะป่า อ้ายบ่าว เนียง เป็นต้น ไม้พื้นล่างที่พบ เช่น จำพวกเฟิร์นทั้งชนิดที่อาศัยอยู่บนดินและชนิดที่เกาะอิงอาศัยบน คาคบไม้ใหญ่ และบัวผุด

1.4) ป่าดงดิบแล้งระดับกลาง (Middle dry evergreen forest)

nn22พบขึ้นปกคลุมพื้นที่บริเวณทิศตะวันออกไปทางตอนกลางจนเกือบถึงแนวสันแดนต่อเขตประเทศ เมียนมาร์ ตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 350-650 เมตร (ร้อยละ 24.40 ของพื้นที่) โดยมักเชื่อมต่อกับป่าดงดิบชื้นกึ่งดิบแล้งและป่าดงดิบแล้งระดับต่ำ สังคมพืชที่พบระดับเรือนยอดชั้นบน ความสูงประมาณ 20-25 เมตร เช่น สมพง มะกอกป่า ทองหลางป่า จันทน์หอม ยางน่องและตังตาบอด ชั้นเรือนยอดรอง สูงประมาณ 10-15 เมตร เช่น ทะลายเขา เฉียงพร้านางแอ พญารากดำ อีโด่ มหาพรหม กลาย กระเบากลัก และแก้ว ชั้นเรือนยอดที่สาม เช่น จำพวกหนามเล็บเหยี่ยว คัดเค้า กระเบียนและฝิ่นต้น ส่วนไม้พื้นล่าง เช่น จั๋งไทย เฟิร์นราชินี เปล้าเงิน รางแดง ช้องระอา และพญาเท้าเอว เป็นต้น

1.5) ป่าดงดิบแล้งระดับต่ำ (Lower dry evergreen forest)

nn22พบทางด้านตะวันออกของพื้นที่ในระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100-400เมตร(ร้อยละ 29.27 ของพื้นที่) สังคมพืชที่พบมีเอกลักษณ์โดดเด่นพบได้เฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเท่านั้น จุดสูงสุดของสังคมพืชจะพบต้นข่อยหนาม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 30 เซนติเมตร และมีจันทน์หอม ฝิ่นแดงหรือกระโดงแดง มหาพรหม ตะแบก เอื้องเสือปลา หวายแดงประจวบ

1.6) ป่าดงดิบแล้งผสมเบญจพรรณ (Dry evergreen forest mixed with deciduous forest)

nn22พบกระจายทางด้านตะวันออกของพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรม และมักพบตามสันเขาและไหล่เขา (ร้อยละ 3.31 ของพื้นที่) สังคมพืชที่พบ ได้แก่ พลอง ฝิ่นต้น มะกล่ำต้น ขี้อ้าย กระเบากลัก และเปล้าใหญ่

2.ป่าประเภทผลัดใบ (Deciduous forest) พบกระจายเพียงเล็กน้อย ในพื้นที่ตอนล่างและตอนบน จำแนกได้เพียงชนิดเดียวคือ ป่าผสมผลัดใบ

2.1) ป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest)

nn22พบกระจายตามไหล่เขาทางทิศตะวันออกตอนล่างของพื้นที่ ใกล้กับวนอุทยานเขาหินเทิน ที่ระดับความสูงประมาณ 250-300 เมตร (ร้อยละ 0.58ของพื้นที่) ไม้เรือนยอดบน ที่พบ เช่น ประดู่ป่า งิ้วป่า สวอง ไม้เรือนยอดรอง เช่น มะกอกป่า สามพันตา กระพี้จั่น มะเกลือ ไม้พื้นล่าง เช่น ไผ่รวก ไผ่ป่าและไผ่ซาง

3.พื้นที่ป่าประเภทอื่น ๆ

nn22บางบริเวณมีการปล่อยให้ป่าฟื้นตัวเองตามธรรมชาติ มีพันธุ์ไม้จำพวก ข่อยหนาม มะกา จำพวกเถาวัลย์ ในขณะที่บางบริเวณมีการจัดการให้เป็นแปลงหญ้าสำหรับสัตว์ป่าและมีการกำจัดวัชพืชออกไป เช่น สาบเสือ ผกากรอง แมงลักผี และไมยราบ

3.2) ไร่ร้าง (Old clearing area)

ร้อยละ 0.10 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยวัชพืชบางชนิด และในส่วนของไร่ร้างที่เกิดจากการอพยพหมู่บ้านออกจากพื้นที่จะมีสภาพผสมระหว่างพืชเกษตรและพันธุ์ไม้ป่าที่เริ่มเข้ามาทดแทน เช่น ข่อย ข้าวไหม้ พนมสวรรค์ คำแสด เฉียงพร้านางแอ มะเดื่อ ไผ่ผาก เปล้าใหญ่ เป็นต้น

3.3) ป่าไผ่ (Bamboo forest)

พบในป่าดงดิบชื้นและป่าดงดิบชื้นผสมดิบแล้ง ที่ระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตร (พบร้อยละ 0.18 ของพื้นที่) ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยไผ่ผาก และมีบ้างที่เป็นไผ่ดำ ส่วนที่ระดับความสูงประมาณ 300 เมตร จะพบไผ่ซาง และไผ่รวก

พรรณไม้ที่สำคัญในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ไม้จันทน์หอม

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mansonia gagei Drumm.

วงศ์ : STERCULIACEAE

ชื่ออื่น : จันทน์ จันทน์พม่า จันทน์ขาว จันทน์ชะมด เอื้องเพชรม้า (อยุธยา )

ลักษณะทางนิเวศวิทยา

เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 30 เมตร พบขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ กันตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป พบขึ้นกระจายอยู่ตามภูเขาหินปูน พบในจังหวัดนครราชสีมา สระบุรี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มีค่าที่หายากจัดเป็นไม้มงคลชั้นสูงใช้ในพระราชประเพณี

ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชประเพณีเกี่ยวกับพระบรมศพ โดยเอาไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายเองตามธรรมชาติ ซึ่งเนื้อไม้จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มาสร้างพระรองประดับพระโกศพระบรมศพ

ตลอดจนใช้ทำฟืนและดอกไม้จันทน์ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ไม้จันทน์หอม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้แข็ง ละเอียด กะพี้สีน้ำตาลอ่อน นิยมใช้สร้างบ้านหรือตำหนักของเจ้านายสมัยก่อน เนื้อไม้ที่มีกลิ่นหอมสามารถนำมากลั่นเป็นน้ำหอม ใช้ทำเครื่องหอม ธูปหอม ตลอดจนเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย

ต้นตะเคียนทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb

ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE

ชื่อพื้นเมือง จะเคียน (ภาคเหนือ) แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

เสาหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างจากไม้ตะเคียนทองที่นำไปจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ต้นมหาพรหม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitrephora Winitii Craib

ชื่อวงศ์ ANNONACEAE

เป็นพันธุ์ไม้ที่หายากของไทยชื่อเป็นมงคล พบในป่าดิบแล้ง หรือป่าดิบชื้นทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-600 เมตร ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดอกมีกลิ่นหอม

ทรัพยากรสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของสัตว์ป่าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ด้วยความหลากหลายของระบบนิเวศส่งผลให้ประชากรของสัตว์ป่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศหลายชนิดดังนี้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ ช้างป่า วัวแดง กระทิง เลียงผา เก้งหม้อ เก้ง เสือโคร่ง เสือดาว หมีควาย ค่างแว่น และชะนีธรรมดา ฯลฯ

สัตว์ป่าสงวนที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ควายป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแล้วท้องดำ และ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี สำรวจพบ 4 ชนิด

นก ได้แก่ นกกาฮัง นกแก๊ก นกเงือกกรามช้าง นกเงือกสีน้ำตาล นกขุนทอง นกกะรางหัวขวาน นกกางเขนดง นกเขียวคราม ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ป่าตุ้มหูแดง ฯลฯ

ผีเสื้อที่พบในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว ผีเสื้อหางติ่งนางระเวง ผีเสื้อหางมังกรเขียว ฯลฯ

ช้างป่ากุยบุรี

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีประชากรช้างป่าไม่น้อยกว่า 250 ตัว

: พบบริเวณตอนกลางโดยรอบพื้นที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี บ้านย่านซื่อ บ้านพุบอน ประมาณ 20 – 30 ตัว

: พบช้างป่าแยกหากินเป็นฝูงเล็ก หรือหากินลำพังตัวเดียวในป่าลึกตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ- กุยบุรี ประมาณ 5 – 10 ตัว

: บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่ กร. 1 ป่ายาง และพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบช้างป่ารวมฝูงทั้งฝูงขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ประมาณ 200 ตัว และพบลูกช้างเกิดใหม่จำนวนหลายตัว (ข้อมูลเดือน มกราคม 2556)

กระทิง

พบว่ากระทิงจะออกมาหากินหญ้า และดินโป่ง โดยจะออกมาหากินหลังจากที่ช้างป่าออกมาหากินในบริเวณนั้นก่อน ซึ่งปัจจุบันมีกระทิงจำนวน 3 ฝูง ฝูงใหญ่จำนวน 86 ตัว และ ฝูงเล็กฝูงละประมาณ 30 กว่าตัวและพบว่ามีลูกกระทิงหลายตัว แสดงว่ามีการเจริญพันธุ์อย่างมาก คาดว่า มีกระทิงไม่น้อยกว่า 150 ตัว

วัวแดง

สำรวจพบ จำนวน 4 ตัว โดยเป็นเพศผู้ จำนวน 3 ตัว และเพศเมีย จำนวน 1 ตัว โดยพบว่าอาศัยรวมอยู่ในฝูงกระทิง

เสือโคร่ง

จำนวนเสือโคร่งในผืนป่ากุยบุรี เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าแก่งกระจาน มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีความสำคัญเป็นอันดับ 4 ของโลก

จากการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน พบเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จำนวน 9 ตัว

การเดินทาง

nn22การเดินทาง จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางสายกรุงเทพฯ–ภาคใต้ จะผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกสาย มีเส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ป่า ในท้องที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 295 แยกขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3217 (กุยบุรี-ยางชุม) ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอกุยบุรีประมาณ 3 กิโลเมตร ระยะทาง 18 กิโลเมตร จากบ้านยางชุมผ่านเข้าโครงการเขื่อนเก็บน้ำยางชุม เลี้ยวซ้ายก่อนถึงโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านยางชุม จะพบทางแยกเลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปบ้านย่านซื่อ ประมาณ 10 กม. จะถึงบ้านย่านซื่อไปต่ออีกประมาณ 2 กม. จึงจะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นทางลาดยางตลอดจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

29thq